วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วันออกพรรษา

วันออกพรรษา หรือ วันปวารณาออกพรรษา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์เถรวาท โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรมปวารณาออกพรรษาในวันนี้ วันออกพรรษาตามปกติ (ออกปุริมพรรษา1) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน ตามปฏิทินจันทรคติไทย
การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ เรียกว่า "ปวารณา"[1] จัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอดไตรมาสสามารถว่ากล่าวตักเตือนและชี้ข้อบกพร่องแก่กันและกันได้โดยเสมอภาค ด้วยจิตที่ปรารถนาดีซึ่งกันและกัน เพื่อสามารถให้พระสงฆ์ที่ถูกตักเตือนมีโอกาสรับรู้ข้อบกพร่องของตนและสามารถนำข้อบกพร่องไปแก้ไขปรับปรุงตัวให้ดียิ่งขึ้น
เมื่อถึงวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ และวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหนะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า ในวันถัดวันออกพรรษาหนึ่งวัน พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 เพื่อลงมายังเมืองสังกัสสนคร[2]พร้อมกับทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้งสามด้วย[3]
นอกจากนี้ ช่วงเวลาออกพรรษาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ถือเป็นเวลากฐินกาลตามพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลเนื่องในงานกฐินประจำปีในวัดต่าง ๆ ด้วย โดยถือว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศลที่ได้บุญกุศลมากงานหนึ่ง
หลังเทศกาลเข้าพรรษาผ่านพ้นไปได้ 3 เดือน ก็จะเป็น วันออกพรรษา ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่วัดในช่วงฤดูฝนตลอด 3 เดือนของพระภิกษุสงฆ์ โดย วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า "วันมหาปวารนา" คำว่า "ปวารนา" นั้นแปลว่า อนุญาตหรือยอมให้ โดยในปีนี้ วันออกพรรษา ตรงกับวันที่ 30 ตุลาคม 2555

         
ทั้งนี้ วันออกพรรษา พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ที่เรียกว่า มหาปวารณา ใน วันออกพรรษา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เนื่องจากในระหว่างที่เข้าพรรษาอยู่ด้วยกัน พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข และการให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนก็จะทำให้รู้ข้อบกพร่องของตน อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันได้ด้วย พระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้ และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แม้พระผู้ใหญ่จะมีอาวุโสมากกว่า แต่ท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง เพื่อเป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นวิธีการคอยสังวร คือ ตามระวัง ไม่ประมาท ไม่ยอมให้ความเลวร้ายเกิดขึ้นได้ เหมือนล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหาย ไม่ว่าจะอยู่ในเทศกาลเข้าพรรษาหรืออกพรรษา พระท่านจะประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ตามระบอบของพระธรรมวินัยอยู่ตลอดเวลา

          สำหรับ คำกล่าว ปวารณา มีคำกล่าวเป็นภาษาบาลีเป็นดังนี้ "สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ" มีความหมายว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี

          เมื่อทำพิธี วันออกพรรษา แล้ว พระภิกษุสงฆ์สามารถจาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ หรือค้างคืนที่อื่นได้โดยไม่ผิดพระพุทธบัญญัติ และยังได้รับอานิสงค์ก็คือ 


           ไปไหนไม่ต้องบอกลา
           ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
           มีสิทธิ์รับลาภที่เกิดขึ้นได้
           มีโอกาสได้อนุโมทนากฐิน ที่จะสามารถขยายเวลาของอานิสงค์ออกไปอีก 4 เดือน

 ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา   ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา ที่นิยมปฏิบัติอยู่ 2 อย่าง คือ

1. ประเพณีตักบาตรเทโว หลัง วันออกพรรษา 

          หลังวันออกพรรษา 1 วัน คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 จะมีการ "ตักบาตรเทโว" หรือชื่อเต็มตามคำพระว่า "เทโวโรหนะ" แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก โดยสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" โดยอาหารที่นิยมนำไปใส่บาตรคือ ข้าวต้มมัด และ ข้าวต้มลูกโยน

ความเป็นมาของประเพณีตักบาตรเทโว มีดังนี้

          สมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม และเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสคร การที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ" ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
ความเป็นมาของประเพณีตักบาตรเทโว มีดังนี้

          สมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม และเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสคร การที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ" ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

          โดยพิธีตักบาตรเทโวโรหณะในปัจจุบันนั้นจะเริ่มตั้งแต่ตอนรุ่งอรุณ หลัง วันออกพรรษา พระภิกษุสามเณรลงทำวัตรในพระอุโบสถ พอพระอาทิตย์ขึ้นก็สมมติว่า พระลงมาจากบันไดสวรรค์ บางที่ก็มีดนตรีบรรเลงเพลงไทยเดิม สมมุติว่าเป็นพวกเทวดาบรรเลง ขับกล่อมตามส่งพระพุทธเจ้า ยังมีพวกแฟนตาซีอีก แต่งเป็นพวกยักษ์ เทวดา พระอินทร์ พรหม นางเทพธิดา นำหน้าขบวนพระภิกษุสามเณร ชาวบ้านก็จะใส่บาตรด้วยอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัดจึงเป็นสัญลักษณ์ของพิธีนี้

2. ประเพณีเทศน์มหาชาติ หลัง วันออกพรรษา

          งานเทศน์มหาชาติ นิยมทำกันหลัง วันออกพรรษา พ้นหน้ากฐินไปแล้ว ซึ่งกฐินจะทำกัน 1 เดือนหลังออกพรรษา ที่จะร่วมกันทอดกฐินทั้ง จุลกฐิน และ มหากฐิน โดยประเพณีงานเทศน์มหาชาติอาจทำในวันขี้น 8 ค่ำกลางเดือน 12 หรือในวันแรม 8 ค่ำ ก็ได้ เพราะในช่วงนี้น้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง แต่ในภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน 4 เรียกว่า "งานบุญพระเวส"  ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จจากการทำบุญลานเอาข้าวเข้ายุ้ง ในภาคกลาง บางท้องถิ่นทำกันในเดือน 5 ต่อเดือน 6 ก็มี

          งานเทศน์มหาชาตินั้นจะทำในเดือนไหนก็ได้ไม่จำกัดฤดูกาล โดยมากเพื่อเป็นการหาเงินเข้าวัด บางแห่งนิยมทำในเดือน 10 โดยการเทศน์มหาชาตินั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 13 กัณฑ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และออกบวชจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ประเพณี วันออกพรรษา ในแต่ละภาค

นอกจากนี้ในแต่ละภาคก็จะมีประเพณีที่ต่างกันไป

วันออกพรรษา ภาคกลาง

          จังหวัดนครปฐม ที่พระปฐมเจดีย์ พระภิกษุสามเณรจะมารวมกันที่องค์พระปฐมเจดีย์ แล้วก็เดินลงมาจากบันไดนาคหน้าวิหารพระร่วง สมมติว่าพระเดินลงมาจากบันไดสวรรค์ชาวบ้านก็คอยใส่บาตร

          จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสูง ณ วัดสะแกกรัง พระภิกษุก็จะเดินลงมาจากเขารับบิณฑบาตจากชาวบ้าน โดยขบวนพระภิกษุสงฆ์ที่ลงมาจากบันไดนั้นนิยมให้มีพระพุทธรูปนำหน้า ทำการสมมติว่าเป็นพระพุทธเจ้า จะใช้พระปางอุ้มบาตร ห้ามมาร ห้ามสมุทร รำพึง ถวายเนตรหรือปางลีลา ตั้งไว้บนรถหรือตั้งบนคานหาม มีที่ตั้งบาตรสำหรับอาหารบิณฑบาต

          แต่สำหรับบางที่ไม่นิยมตักบาตรเทโว แต่นิยมตักบาตรตอนเช้าถวายอาหารพระภิกษุแล้วฟังเทศน์รักษาอุโบสถศีล ส่วนที่นิยมตักบาตรเทโว จะทำบุญเป็น 2 วัน คือวันออกพรรษากับวันเทโว ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ในวันออกพรรษานั้น หรือในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ก็มีการฟังเทศน์ตอนสาย ๆ และรักษาอุโบสถศีล

          ส่วนทางภาคใต้ก็จะมีประเพณีชักพระหรือลากพระ ซึ่งก็คือพระพุทธรูปนั่นเอง โดยมี 2 กรณี คือ ชักพระทางบก กับ ชักพระทางน้ำ 

วันปิยะมหาราช

ความเป็นมา

๒๓ ตุลาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทุกปีจะมีการวางพวงมาลาดอกไม้ที่พระบรมรูปทรงม้า เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
          เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต ครั้นนั้นเป็นที่เศร้าสลดอย่างใหญ่หลวงของพระบรมวงศานุวงศ์และปวงชนทั่วประเทศ เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เคารพรักของวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงได้ถวายพระนามว่า พระปิยมหาราช หรือพระพุทธเจ้าหลวง เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพตามราชประเพณีแล้ว ครั้งเมื่อบรรจบอภิลักขิตสมัยคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ผู้สืบราชสันตติวงศ์ ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายตามราชประเพณี โดยเชิญพระโกศพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวออกประดิษฐานบนพระแท่นนพปฎลมหา-เศวตฉัตร และเชิญพระพุทธรูปปางประจำพระชนมวารประดิษฐาน ณ โต๊ะหมู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หรือพระที่นั่งอนันตสมาคมส่วนที่พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระลานพระราชวังดุสิต หน้าที่นั่งอนันตสมาคม ที่เรียกว่าพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่พระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณได้ร่วมใจกันรวบรวมเงินจัดสร้างประดิษฐานขึ้นน้อมเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะที่ทรงพระชนม์อยู่เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงครองราชย์ยั่งยืนนานถึง ๔๐ ปี และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายนพ.ศ. ๒๔๕๑ นั้น
          ต่อมาทางราชการได้ประกาศให้วันที่ ๒๓ ตุลาคมซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า วันปิยมหาราช และกำหนดให้หยุดราชการวันหนึ่งในวันปิยมหาราช เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น กรุงเทพมหานคร ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็นสำนักพระราชวัง ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติ ฉัตร ๕ ชั้น ประดับโคม ไฟ ราวเทียม กระถางธูป ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
          พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราชครั้งแรก คือ ถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายแล้ว ได้เสด็จฯไปถวายพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์  
รัชกาลที่ 5เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 ได้เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมือง และพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า

          ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทางราชการได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า "วันปิยมหาราช" และกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ

          เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น "กรุงเทพมหานคร" ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็น "สำนักพระราชวัง" ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติฉัตร 5 ชั้น ประดับโคมไฟ ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

          พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วันปิยมหาราช ครั้งแรกเกิดขึ้นถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายแล้วเสด็จฯ ไปถวายพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์

เทศกาลกินเจ

เทศกาลกินเจของเมืองไทย
         
          ย่างเข้าเดือน ๙ ของทุกปี เราจะเห็นตามร้านอาหารทั่วไปปักธงสีเหลืองเต็มไปหมด นั่นหมายถึงการ เข้าสู่เทศกาลกินเจของคนจีนที่ปวารนาตนจะงดอาหารที่มีเนื้อสัตว์พร้อมทั้งถือศิลทำบุญทำทานเป็นเวลา ๙ - ๑๐ วัน เพื่อเป็นการชำระทั้งร่างกายและจิตใจให้บริสุทธิ์
          ประเพณีการกินเจในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่ปฎิบัติสืบต่อกันมาของชาวจีนในประเทศไทย  เชื่อว่าเป็นการประกอบพิธีกรรมเพื่อสักการบูชาพระพุทธเจ้าในอดีตกาล ๗ พระองค์ และพระมหาโพธิสัตว์อีก ๒ พระองค์ รวมเป็น ๙ พระองค์ด้วยกัน หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า ดาวนพเคราะห์ทั้ง ๙ ประชาชนถวายพระนามว่า "เก้าอ๊วง" ซึ่งเทพทั้งเก้าของชาวพุทธมหายาน อันได้แก่
  1. พระวิชัยโลกมนจรพุทธะ ปรากฏตนเป็นพระอาทิตย์ จีนเรียก "ไท้เอี้ยงแซ"
  2. พระศรีรัตนะโลกประภาโฆษอิศวรพุทธะ ปรากฏตนเป็นพระจันทร์ จีนเรียก "ไท้อิมแซ"
  3. พระเวปุลลรัตนโลกสุวรรณพุทธะ ปรากฏเป็นดาวอังคาร จีนเรียกว่า "ฮวยแซ"
  4. พระอโศกโลกวิชัยมงคลพุทธะ ปรากฏเป็นดาวพุธ จีนเรียกว่า "จุ้ยแซ"
  5. พระวิสุทธิอาศรมโลกเวปุลลปรัชญาวิภาคพุทธ ปรากฎเป็นดาวพฤหัสบดี "บักแซ"
  6. พระธรรมมติธรรมสาครจรโลกมโนพุทธะ ปรากฎเป็นดาวศุกร์ "กินแซ"
  7. พระเวปุลลจันทร์โลกไภสัชชไวฑูรย์พุทธะ ปรากฎเป็นดาวเสาร์  "โท้วแซ"
  8. พระศรีสุขโลกปัทมครรภอลังการโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นดาวราหู "ล่อเกาแซ"
  9. พระศรีเวปุลลสังสารโลกสุขอิศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นดาวเกตุ "โกยโต้วแซ"
  ในพิธีกรรมสักการบูชาพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ และพระมหาโพธิสัตว์อีก ๒ พระองค์นี้ สาธุชนในพระพุทธศาสนาต่างสละเวลาและกิจทางโลกมาบำเพ็ญศีล ตั้งปณิธานกินเจ บริโภคแต่อาหารผลไม้ งดเว้นอาหารเนื้อสดของคาวด้วยการสมทานรักษาศีล และเพื่อซักฟอกมลทินออกจากร่างกาย วาจา ใจ ต่างสวมเสื้อผ้าสีขาวสะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากจุดด่างพร้อย พากันเดินทางสู่วัดอารามพร้อมด้วยดอกไม้ ธูปเทียน ไปนมัมสการน้อมบูชา แด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ อีกทั้งพระมหาโพธิสัตว์ ๒ พระองค์ พร้อมจัดหาเครื่องกระดาษทำเป็นรูปทรงเสื้อผ้า,หมวด, รองเท้า, กระดาษเงินกระดาษทองต่างๆ ไปน้อมถวายเป็นเครื่องสักการะ เป็นกุศลสมาทาน
          ดั้งนั้นเชื่อกันว่า ในช่วงนี้ถ้าใครถือศิลกินเจพร้อมตั้งจิตอธิษฐานขอพรอันใดก็จะได้สมปรารถนา นอกจากนี้  คนที่กินเจยังนิยมไปไหว้เจ้าตามศาลเจ้าเพื่อขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้คุ้มครอง ซึ่งศาลเจ้าในกรุงเทพฯ ที่ตนนิยมไปไหว้ อาทิ วัดเล่งเน่ยยี่(วัดมังกรกมลาวาส), ศาลเจ้าไต้ฮงกง ตรงข้ามสน.พลับพลาไชย, โรงเจชิกเชี้ยม่า ตลาดน้อย, โรงเจเตี่ยชูหั้ง สำเพ็ง เป็นต้น
 ชาวไทยเชื้อสายจีนที่ภูเก็ต มีธรรมเนียมการกินเจที่กลายเป็นงานที่เอิกเกริก เป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่น และเป็นจุดดึงดูดทางการท่องเที่ยวของภูเก็ตไปพร้อมกัน โดยชาวจีนถือศิลกินเจกันในเดือน ๙ ก็เพราะเชื่อว่าเป็นห้วงยามที่เทพเจ้าทั้ง ๙ จะเสด็จออกโปรดสัตว์บนโลกมนุษย์ แต่ดวงวิญญาญของเทพเจ้าไม่สามารถติดต่อกับมนุษย์ได้โดยตรงเว้นเสียแต่ผ่าน "ร่างทรง" หรือ "ม้าทรง" ซึ่งก็คือบุคคลที่เทพเจ้าเห็นเหมาะสมจะนำวิญญาณของพระองค์เข้าครอบครองร่างนั้นชั่วขณะหนึ่ง เพื่อเป็นตัวแทนของพระองค์ในการกระทำกิจใดๆ บนโลกมนุษย์ โดยเฉพาะการออกโปรดสัตว์
          เทพเจ้าหรือพระโพธิสัตว์ของชาวพุทธฝ่ายมหายานนั้น ทรงมีอิทธิฤทธิ์ และมีศาสตราวุธสำหรับคุ้มครองมนุษย์ต่างๆ กันไป บ้างถือแซ่ บ้างถือเหล็กแหลม ลูกตุ้มหนาม มีด หอก ดาบ และกริซ เมื่อเสด็จออกโปรดสัตว์ผ่านร่างของม้าทรงในเทศกาลกินเจ จึงต่างแสดงอภินิหารให้เป็นที่ปรากฏ ภาพที่เราเห็นม้าทรงกระทำทุกข์ทรมานร่างกายแท้ที่จริงคือ เทพเจ้าแสดฤทธิ์เดช และรับเอาความเจ็บปวดนั้นไปแทนจึงปรากฏเรื่องเล่าอยู่เสมอว่า บาดแผลของเหล่าม้าทรงจะหายไปในเวลาไม่นาน กระทั่งบางร่างทรงตัดลิ้นตนเองขาดไปนานนับชั่วโมง ก็ยังสามารถต่อลิ้นกลับไปได้ดังเดิม
          อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะมาเป็นม้าทรงได้ ขึ้นอยู่กับการบัญชาของเทพเจ้า บางคนมีประวัติว่าตกต้นไม้สูงลงมาแต่ไม่ตาย พอฟื้นจากสลบก็รู้ตัวว่าเทพเจ้ามาช่วยชีวิตไว้ จึงต้องรับใช้เทพเจ้าด้วยการเป็น "ม้าทรง" แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือเขาจะต้องรักษากายใจให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ แน่นอนว่าจะต้องเคร่งครัดกว่าคนธรรมดา มิฉะนั้นเทพเจ้าก็อาจเลิกใช้ร่างนี้เป็นม้าทรงอีกต่อไป
          เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องของความเชื่อถือศรัทธาที่ยากจะพิสูจน์ให้กระจ่างชัดได้ดั่งการพิสูจน์ทฤษฎีบทเรขาคณิต หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ชาวภูเก็ตรู้เพียงแต่ว่า พลังแห่งศรัทธานี้ได้หล่อเลี้ยงขวัญและกำลังใจพวกเขามาแต่ครั้งพรรพชน จนแม้เมื่อถึงยุคที่คอมพิวเตอร์มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต พวกเขาก็ยังคงสืบทอดศรัทธานี้ไว้อย่างมั่นคง
          บรรยากาศเทศกาลกินเจของเมืองไทยในปัจจุบัน คนทั่วไปไม่เว้นแม้กระทั่งหนุ่มสาวยุคใหม่ต่างก็หันมากินเจกันมากขึ้นทั้งนี้ อาจจะมาจากกระแสเรื่องห่วงใยสุขภาพมากกว่าความเชื่อโบราณ เพราะการงดเนื้อสัตว์ทุกชนิดและหันมาบริโภคแต่ผัก ผลไม้นั้นจะช่วยชำระล้างของเสียออกจากร่างกาย หรือคนยุคนี้เรียกว่า "การล้างพิษประโยชน์ของการ กินเจ ในมุมมองที่แตกต่าง          ประโยชน์ของการกินเจทุกคนไม่จำเป็นต้องมองแง่เดียวกัน การปฏิบัติในการกินเจก็ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทั้งหมด เพียงแต่ยึดหลักที่เป็นหลักสำคัญในการกินเจไว้ก็เพียงพอแล้ว คือ การงดเว้นการกินเนื้อสัตว์ เลือกกินเฉพาะพืช ผัก ผลไม้ ซึ่งในส่วนนี้เกิดจาก แง่มุมมองการกินเจบนปลายทางของผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปจะมีการมองประโยชน์ของการกินเจในมุมมองต่อไปนี้
  
         ประโยชน์ของการกินเจในมุมมองของศาสนา         มุมมองของศาสนา จะมองประโยชน์ของการกินเจในแง่ของชีวิตและจิตใจ ได้แก่
  • บังเกิดเมตตาจิต เกิดความสงบ สุขุม เยือกเย็น อารมณ์ไม่ฉุนเฉียว ไม่หุนหันพลันแล่น ไม่โมโหง่าย ดวงธรรมญาณอันบริสุทธิ์จะปรากฏออกมา ซึ่งจะช่วยเกื้อกูลส่งเสริมให้บารมีธรรมสูงขึ้นเรื่อยๆ
  • ทำให้มีสติมั่งคง มีสมาธิแน่วแน่ ไม่ประมาทเลินเล่อ เป็นประโยชน์ ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน สามารถรอดพ้นจากภัยต่างๆ เช่น ภัยธรรมชาติ ภัยจากสัตว์ ภัยจากเคราะห์กรรม เมื่อวิญญาณออกจากร่างก็จะไปสู่ภพภูมิที่ดี
  • หยุดการทำบาป ตัวเวรกรรมที่ผูกพัน ทำให้ไม่เกิดการอาฆาต พยาบาท ทำให้ปราศจากศัตรูทั้งมนุษย์และสัตว์ที่คิดมุ่งทำร้ายตามจองเวร
  • หลังจากกินเจต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน สิ่งไม่ดีจะถูกขับออกไป ความรู้สึกขุ่นมัวมืดมนจะหมดไป ความสดใสจะปรากฏขึ้นในจิตใจ  ถ่ายทอดออกไปสู่ใบหน้าให้มีความสะอาดสดใส
  • ผู้ที่กินเจ รวมทั้งครอบครัวและบุตรหลาน และคนในปกครองจะเกิดความรุ่งเรืองในชีวิต มีเหตุให้เกิดอยู่ในดินแดนอารยะ มีแต่ความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากการทำร้าย รบราฆ่าฟัน ไม่มุ่งร้ายทำลายชีวิตซึ่งกันและกัน
  • ทำให้จิตสะอาดไม่ฟุ้งซ่าน จิตที่สะอาดจะทำให้มองเห็นกายอันแท้จริง สามารถสู่นิพพานได้ในที่สุด
  • เทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ความคุ้มครองอารักขา ไม่ให้สิ่งเลวร้ายหรือวิญญาณชั้นต่ำเข้ามาทำร้าย
    ผู้ที่มองประโยชน์ของการกินเจในแง่ของศาสนา จะมีการปฎิบัติที่เคร่งครัดกว่า การมองประโยชน์ของการกินในแง่อื่นซึ่งมักจะให้ผลที่สามารถมองเห็นได้ อย่างเกินคาดเกินความคิดคำนึงพื้นฐานของคนทั่วไป เช่น การลุยไฟ การใช้เหล็กเสียบแทงตนเองหรือม้าทรงต่างๆ ในเทศกาลกินเจที่จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดตรังนั่นคือ ความเชื่ออันแรงกล้าทำให้เกิดสิ่งที่คนคิดว่าเป็นไปไม่ได้เสมอ
    "

    •